onsdag 20. mars 2013

Review : พิพิธภัณฑ์ Astrup Fearnley Museum Oslo



Astrup Fearnley Museum
at Oslo in Norway





100 Krone for 1 ticket








This is dog's food.
































The end 
very cold today :)


รีวิวสถานที่ท่องเที่ยว โดย All about Norway


- Review : Oslo มีอะไรน่าสนใจ 

- Reveiw : The Viking Ship Museum (เรือไวกิ้ง) 

- Review : Stortinget รัฐสภาแห่งนอร์เวย์

- Review : Akershus Festning 

- Review : Norsk Folkemuseum Oslo พิพิธภัณฑ์การใช้ชีวิตแบบเก่

- Review : Vigelands Park in Frogner Park in Oslo (สวนรูปปั้นหิน)

- Review : Nobel Peace Center in Oslo (โนเบล) 

- Review : Aker Brygge at Oslo in Norway (ท่าน้ำ ท่าเรือ) 

- Review : Botanisk Hagen in Oslo (สวนต้นไม้) 

- Review : ร้านขายของที่ระลึกในนอร์เวย์ 

- Review : ร้านขายของถูกจิปาถะ ที่นอร์เวย์ ''Søstrene Grene'' http://all-about-norway.blogspot.no/2015/03/sstrene-grene.html

- Review : ร้านขายของถูกจิปาถะ ที่นอร์เวย์ ''TGR'' 

- Review : เก็บสตอเบอรี่จากสวนด้วยตัวเอง ที่นอร์เวย์ 

tirsdag 12. mars 2013

ศัพท์ง่ายควรรู้ จ่ายเงินซื้อของ ณ Norway

การซื้อของที่นอร์เวย์


     การซื้อของในห้าง กับซุปเปอร์มาเก็ต จะคล้ายๆ กัน ในฐานะที่เราเป็นชาวต่างชาติมือใหม่ เราต้องรู้อะไรของคนที่นี่บ้าง (ไม่ยากค่ะ แค่ต้องหูดีๆ ฟังดีๆ เท่านั้นเอง) ^0^

     How to go shopping in Norway. Maybe they say something you don't understand, and I will try to explain it here. 

     ในห้างถ้าเป็นพวกร้านขายเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ เช่น Zara, H&M, Cubus, Mango, Wow เป็นต้น  ไม่ต้องจ่ายเงินค่าถุง แต่ถ้าเป็นร้านพวกขายของทั่วไปเครื่องเขียนของจุ๊กจิ๊ก เช่น ร้าน Nille ขายของราคาถูก ต้องจ่ายเงินค่าถุงด้วย และซุปเปอร์มาเก็ต พวก กีวี ริมิ .... เช่นกัน

     You usually don't need to pay for plastic bag in shops, but it is normal to pay for it at supermarkets.



1. เลือกซื้อของตามสบายใจ You pick every product that you need.. 

2. เสร็จแล้วมาที่จ่ายเงิน  ..then you go to the cashier..

3. พนักงานพูด Hei (ไห) สวัสดี เราก็พูด Hei กลับ  
Staff say : "Hei", which means "Hello". 
It is polite to answer "Hei" back to the staff.

4. คนที่นี่ส่วนใหญ่จ่ายด้วยบัตร แต่เงินสดก็ได้
You can pay by card or cash. Both are ok, but most of the people here pay by card.

5. ถ้าจ่ายเป็นเงินเหรียญ ให้หยอดลงตู้หน้าแคชเชียร์ ก็เป็นอันจ่าย
If you have coins, you can put them in the red machine by the cashier.

6. ถ้าเป็นธนบัตรก็จ่ายให้กับมือได้
If you have bills, you can give them to the staff.

7. พนักงานจะพูดว่า Pose (พู่เซะ) ถุง  ถ้าต้องการก็ตอบ Ja, Takk (ย๋า ทั๊ค) ถ้าไม่ก็ตอบ Nei, Takk (ไน๋ ทั๊ค)
Staff say : "Pose?" This means "plastic bag?". If you want a plastic bag, then you can say "Ja takk". It means "yes thanks". If you don't want a plastic bag, you can say "Nei, takk", which means "No, thanks".

8. ถุงราคา 1 โครน เท่ากับ 5 บาท ถ้าอยากประหยัดก็หิ้วถุงหรือกระเป๋าไปเอง
The plastic bag usually costs 1 krone. 

9. พนักงานจะพูดต่อว่า Kvittering (ควิทเทริ่ง) ใบเสร็จ ถ้าต้องการก็ตอบ Ja, Takk (ย๋า ทั๊ค) ถ้าไม่ก็ตอบ Nei, Takk (ไน๋ ทั๊ค)
Staff say : "Kvittering?". It means "receipt?". If you want one, you can say "Ja, takk". It means "yes, thanks". If you don't want one, you can say "Nei, takk". This means "No thanks".

10. ลาก่อน Ha det bra หรือ Hadet 
Staff say : "Ha det bra" or "Hadet".  It means "good bye".


     จริงๆ แล้วก็ดูเหมือนจะง่ายนะกับการซื้อของ แต่ตอนจ่ายเงินนี่สิ เป็นมาแล้ว เค้าถามอะไรมาก็ทำหน้ามึนงง บ่อยๆ ประจำเลยในช่วงแรกๆ ที่ยังไม่รู้ประสีประสา เพราะบางทีเราก็ต้องออกไปข้างนอกบ้านคนเดียว ซื้อของกินของใช้บ้างคนเดียว แต่ถ้าเรามีข้อมูลบ้าง ก็จะเป็นประโยชน์กับตัวเราเองมากๆ เราจะรู้ว่าควรทำอะไร ควรพูดอะไร และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ตัวเองขึ้นด้วย (และที่สำคัญจะได้ไม่หน้าแตกบ่อยๆ) ^_^

บทความแนะนำ โดย All about Norway
คลิกที่ลิ๊งด้านล่างได้เลยจ้า 

การเรียนภาษา

การหางาน และ นาฟ

วีซ่า

ความรู้ทั่วไป

รีวิว ที่เที่ยวใน Oslo

onsdag 6. mars 2013

ตั้งแต่รู้จักกับแฟน หมั้น และแต่งงาน ณ นอร์เวย์

คลิป ก่อน-หลัง เริ่มชีวิตใหม่ต่างประเทศ(นอร์เวย์) 

https://www.youtube.com/watch?v=kQxpaUUOrPs

____________________________________


ข้อมูลเนื้อๆ เกี่ยวกับวีซ่าคู่หมั้น

____________________________________

สำหรับผู้ที่แต่งงานในนอร์เวย์ มาด้วย วีซ่าคู่หมั้น



          เรื่องควรรู้ ใบรับรองโสด มีอายุเพียง 4 เดือนเท่านั้น ควรคำนวณวันให้ดี ไม่งั๊นใบโสดหมดอายุ และไม่สามารถใช้แต่งงานได้ที่ประเทศนอร์เวย์ ดังนั้น เมื่อวีซ่าเราผ่าน เราควรขอใบรับรองโสดมาเตรียมพร้อมไว้อีกใบ (อย่าลืมแปลรับรองมาให้เรียบร้อย)



          ขอเล่าย้อนหลัง นิดนึง รู้จักกับแฟนตั้งแต่สิ้นเดือนพฤษภาคม 2011 คบกันเป็นเพื่อนได้ 3 เดือน เค้าตัดสินใจมาเมืองไทยและก็ตกลงเป็นแฟนกัน


 มาไทยครั้งแรก  เดือนกันยายน 2011 (08 วัน) 
มาไทยครั้งสอง เดือนธันวาคม 2011 (12 วัน) 
มาไทยครั้งสาม เดือนมิถุนายน 2012 (15 วัน)

          เคยมานอร์เวย์มาเยี่่ยมแฟน 1 ครั้ง หลังจากแฟนมาไทยครั้งที่สอง เราก็ทำวีซ่าไปบ้าง ตอนเดือนมีนาคม ปี 2012  (12 วัน) ออกค่าตั๋ว ค่าวีซ่าเอง ทำเองหมดไม่มีเอเจนซี่ใดๆ 2 วันทราบผล (ฝ่ายชายทำหน้าที่การันตี และออกค่ากิน ค่ารถให้ สำหรับ 12 วันสรุป เจอกัน 2 ครั้ง รวม 20 วัน ก่อนจึงขอวีซ่าท่องเที่ยวไปนอร์เวย์

     หลังจากแฟนมาไทย ครั้งที่สาม แฟนก็ได้ขอหมั้น หลังจากแฟนกลับไป ก็ทำเรื่องวีซ่าคู่หมั้นทันที
_____________________

ก่อนยื่นวีซ่าคู่หมั้นสำคัญมาก สำหรับหลักฐานที่เราต้องโชว์ต่อ UDI

1. เขียนเรื่องราวของตัวเองและแฟนให้ละเอียดที่สุด

- เริ่มต้นจากประวัติตัวเองและประวัติแฟนคร่าวๆ ชื่อ ที่อยู่ ทำงาน ครอบครัว

- หัวข้อที่ควรมีในเอกสารแสดงความสัมพันธ์...เริ่มรู้จักกันได้อย่างไร....ถ้าเว็บไซค์จากเว็บอะไร....เริ่มแชทกันเมื่อไหร่....คุยกันกี่เดือนฝ่ายชายมา....มากี่วัน....มากี่ครั้ง....ไปเที่ยวไหนมาบ้าง....ได้เจอครอบครัวกันรึเปล่า....เป็นอย่างไร....ตกลงเป็นแฟนกันเมื่อไหร่....เค้าขอแต่งงานยังเล่าให้ละเอียดให้เข้าถึงอารมณ์ (ไม่ได้เว่อนะคะพูดจริงๆ) ....และแพลนการแต่งงานระบุคร่าวๆ  วัน เดือน สถานที่ แขกกี่คน บรรยากาศ ปาร์ตี้ เขียนให้จริงจังลองหลับตาจินตนาการแล้วเขียนดูค่ะ (ของเราเขียนประมาณ 6 แผ่น A4)

ปริ๊นบทสนทนาตอนคุยกันครั้งแรกด้วย (ถ้ามี) ประมาณ 5 แผ่น เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าเราไม่ได้โม๊)

- รูปถ่าย ปริ๊นใส่กระดาษ A4 ประมาณ 5 แผ่น ใน 1 แผ่น มีประมาณ 9 รูป และเขียนเล่าเหตุการณ์ใต้ภาพ เป็นภาษาอังกฤษแบบง่ายๆ (ควรโชว์ภาพพบปะครอบครัว ไปเที่ยว สวีท บลาๆๆ )

- อย่าลืมแปล ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบเกิด ใบรับรองโสด แนะนำว่าให้จ้างร้านแปล เพราะถ้าร้านทำผิดเค้าจะรับผิดชอบค่ะ เคยแปลเองแล้ว มันยุ่งยาก ทำให้เราปวดหัวเปล่าๆ (ร้านยอดฮิตคือร้านทรงไทย แผ่นละ 200 บาท พร้อมปั๊ม+ลายเซ็นต์ของร้าน)

- นำเอกสารที่ได้จากร้านแปลทั้งไปปั๊มรับรองที่กงศุล แจ้งวัฒนะ อย่างถูกชุดละ 400 บาท รอ 3 วันเสร็จ แต่ถ้าอยากได้เร็วต้องไปแต่เช้าหน่อยนะคะ ชุดละ 800 บาท นั่งรอ นอนรอที่นั้นได้เลยค่ะ (ชุดละหมายถึง ทะเบียนบ้านมีกี่แผ่นก็เรียกว่า 1 ชุด)

- เช็คลิสเตรียมเอกสารให้พร้อมของฝ่ายชายและตัวเอง


          จะเล่าให้ฟังจาก ปสก. การแปลเอง เราแปลเสร็จพร้อมปริ๊น แต่ขาดปั๊มและลายเซ็นต์จากสำนักแปล ก็ต้องจ้างเค้าปั๊มและเซ็นต์แผ่นละ 100 บาท (จริงๆ ปั๊มเองเซ็นต์เองก็ได้ แต่เพียงเราอยากให้เค้าตรวจความถูกต้องให้ด้วยเท่านั้น) แต่ถ้าตอนยื่นเราเกิดข้อผิดพลาดแปลผิดขึ้นมาก็ต้องแก้ใหม่ อะไรใหม่ มันยุ่งยากค่ะ  

          หลังจากเราได้คำตอบวีซ่าแล้ว ก็ต้องไปขอใบรับรองโสดใหม่ เพราะใบรับรองโสดมีอายุ 4 เดือน อันนี้เราก็แปลเองอีก แต่ไปให้ร้านปริ๊นรอบนี้เค้าไม่ปริ๊นให้ค่ะ เค้าบอกกลัวไวรัสในแฟลชไดร์ กลุ้มเลยค่ะ จะจ้างให้ร้านแปลให้ใหม่ก็ 200 บาทเสียดายตัง มืดแปดด้านเลยตอนนั้น ไปร้านใต้กงศุลเค้าก็ไม่รับ เดินๆ ไป ก็มีผู้ชายตรงด้านล่าง พวกหาลูกค้าค่ะ "น้องทำไร แปลรึเปล่า" เราก็ "อยากปริ๊นเอกสารค่ะ" เค้าก็แนะนำให้เดินไปหาอีกคน ก็นั่งมอเตอร์ไซค์เค้าไป อยากบอกว่าตอนนั้นก็กลัวเหมือนกันค่ะ กลัวถูกหลอก แต่มันไม่มีทางเลือกเลยลองเสี่ยง นั่งไปประมาณ 5 นาที เป็นห้องเช่าเล็กๆ รับแปลเอกสาร เค้าก็ปริ๊นให้ 100 บาท แล้วก็นั่งมอเตอร์ไซค์กลับไป ที่ทำนี่เสี่ยงมากๆ เลย เพราะไม่อยากเสียเงินเยอะ พอนั่งคิดอีกทีไม่น่าเลยตู จ้างเค้าก็หมดเรื่องแล้ว นี่เค้าเรียกว่า เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย งกเกินเหตุ


     ปล. ถ้าฝ่ายชายไม่เคยแต่งงาน ไม่เคยมีลูกมาก่อน หลักฐานยืนยันหนักแน่นส่วนใหญ่จะได้เร็วค่ะ เพราะไม่ต้องพิจารณามาก ส่วนใหญ่ไม่เกิน 6 เดือน ของเรา 1 เดือนพอดีค่ะ (เงินเดือนฝ่ายชาย การจ่ายภาษี ก็มีส่วนในการพิจารณาด้วยค่ะ) 

เมื่่อเรามั่นใจแล้วก็กรอก https://selfservice.udi.no/ จ่ายเงิน จองวันเวลาให้เรียบร้อย 

          ตอนนี้สำหรับคนที่จะย้ายมานอร์เวย์ ต้องรอผลการพิจารณานานมาก ด้วยจากรัฐบาลใหม่, คนเข้ามาเยอะ และการทำงานที่ชักช้าของจนท. รอไปชิวเลยๆ 4 - 11 เดือน
______________________________________


ตอนอยู่ไทยรอวีซ่าคู่หมั้น 1 เดือนพอดี
          และรอลาออกจากงาน กว่าจะได้บินมาใช้เวลา 3 เดือน ทำงานจนวันสุดท้ายที่จะทำได้ และวันรุ่งขึ้นก็บินเลย  (ได้ราคาตั๋วพิเศษมา พ่อทำงานการบินไทย เป็นสิทธิของตระกูล 8,000 บาท ขาเดียว ถ้าไปกลับก็หมื่นหก) จ่ายเองหมดเลยนะ ขอบอก ค่าวีซ่าสองหมื่นกว่าบาท ค่าตั๋วเครื่องบิน มีพ๊อกเก็ตมันนี่ด้วย ภูมิใจมีเงินจ่ายเอง.


          11 พฤจิกายน 2555 บินจากไทยมาถึงนอร์เวย์โดยสวัสดิภาพ ด้วยการเดินทางอันแสนยาวนาน 11 หรือ 12 ชม.จำไม่ได้ แต่ดีใจที่มาถึงสักทีนั่งนานเมื่อยมากๆ


          14 พฤจิกายน 2555 ไปรายงานตัวภายใน 7 วัน  ที่ (Politiet - Utlendingsavsnittet) พร้อมถ่ายรูป บลาๆๆๆ (สามีนัดหมายออนไลน์ตั้งแต่เรายังอยู่ไทยด้วยซ้ำ เพราะคิวจะยาวไม่อยากงานเข้าเผื่อเลย 7 วัน ควรนัดออนไลน์ตั้งแต่เนิ่นๆ) หลังจากเสร็จแล้ว สามีอยากให้เรามีเลขประจำตัว ก็เลยเดินไปยังตึกตรงข้าม รอคิวอย่างนาน ปุ๊ป..สามีจัดแจงทุกอย่างหมด กรอกรายละเอียด บลาๆๆ แล้วก็ได้เลขประจำตัวมาอย่างง่ายดาย (สามีห้อยบัตรตำรวจตลอด ติดต่ออะไรก็ง่ายหมด) โชคดีไปเรา


ที่รายงานตัว สำหรับคนอยู่ Oslo จ้า
(Politiet - Utlendingsavsnittet)


          สถานที่รายงานตัวเมื่อเดินทางมายังนอร์เวย์ (เฉพาะผู้อยู่ใน Oslo) หรือการทำบัตรอนุญาตพำนักชั่วคราว, ถาวร หรือการต่อวีซ่านั้น การติดต่อ ทำได้โดยการนัดออนไลน์เท่านั้น และต้องเนิ่นๆ ด้วย เพราะคิวแน่นตลอด!!

          ขอเลขประจำตัว 11 หลัก          ด้ที่ตึกสำนักงานเสียภาษี!!! อยู่ข้างๆ กับที่ที่เราไปรายตัวกับตำรวจ (Politiet - Utlendingsavsnittet) ค่ะ สำหรับคนที่อยู่ Oslo นะคะ
ตึกสำนักงานเสียภาษี
ถ่ายจากตึกUtlendingsavsnittet เห็นมั๊ยอยู่ข้างๆ กันเลย

          ช่วงระหว่างนี้ สามีเป็นคนเตรียมเอกสารขออนุญาตแต่งงานทั้งหมด เราจำไม่ได้ว่ามีอะไรบ้าง และพ่อแม่สามีก็ติดต่อออฟฟิต(Tinghus)ที่รับแต่งงานด้วยที่ เมือง Sandefjord รอประมาณ 3 สัปดาห์ก็ได้คำตอบ

แต่งงาน ณ นอร์เวย์
          31 ธันวาคม 2555 เป็นวันแต่งงานของเราและสามี ที่ไม่คิดไม่ฝันว่า ชาตินี้จะไม่ต้องขึ้นคาน เป็นการแต่งงานที่เรียบง่าย ที่เมือง Sandefjord เป็นการส่งท้ายปีใหม่ที่มีความสุขมากๆ (ปกติเราอยู่ Oslo แต่มาแต่งงานที่เมือง Sandefjord เพราะพ่อกับแม่แฟนเค้าอยู่ที่นี่)

(ได้ลงหนังสือพิมพ์ของเมือง Sandefjord  ด้วย)

          เอกสารว่าเราแต่งงานแล้วจะส่งมาให้ที่บ้านประมาณ 2 อาทิตย์ ถ้าไม่ได้ควรโทรไปทวง และเตรียมตัวทำเอกสารเรสซิเด๊นวีซ่า


          มกราคม 2556 ไปทำ TB-Test  ไม่มีเอกสารใดๆ แจ้งมาให้ทำ แต่เรารู้อยู่แล้วต้องทำ ก็ให้สามีติดต่อให้ หรือสามารถโทรไปถามรายละเอียดการทำเทสนี้ได้ (จากเอกสารที่ได้จากออฟฟิตตำรวจ วันที่เราไปรายงานตัวครั้งแรกที่มาถึงนอร์เวย์ ถ้าเค้าไม่ให้ เราก็ต้องถามหา) ในเอกสารจะระบุเขต ที่อยู่ เบอร์โทร เวลาทำการ ต้องนัดหมายหรือไม่ คำตอบอยู่ในนั้นหมด ส่วนเราได้เอกสารมาตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2555 แต่เพิ่งจะไปทำเดือนนี้ 


          หลังจากไปทำ TB-Test ได้ 3 วัน ก็ต้องกลับมาให้ตรวจความกว้างของรอยแดง (ห้ามเกาเด็ดขาด) และเมื่อโอเค เจ้าหน้าที่จะเขียนใบเพื่อให้ไปตรวจเอ็กเซร์ปอดที่ รพ. ด้วย แต่เราต้องโทรไปนัดหมายกับ รพ. เอง และไปตามวันเวลาที่นัดหมาย ไปถึงเข้าห้องเอ็กเซร์เจ้าหน้าที่ไม่พูดอะไรมาก แค่บอกถอดเลย ถอดเสื้อใน ถอดเสื้อออกและเอ็กเซร์ ไม่มีผ้าคลุมปิดบังใดๆ ทั้งสิ้นเหมือนไทย เสร็จแล้วก็กลับ ถ้าทุกอย่างโอเค เค้าจะไม่โทรมาบอก ถ้าผิดปกติ แน่นอนเค้าจะโทรมา (กว่า TB-Test จะหายไปจากแขนใช้เวลา 1 เดือน มันจะน่าเกลียดเวลาใส่เสื้อผ้าที่ต้องโชว์แขน เจ้าหน้าที่บอก 3 วัน ไม่จริ๊งงงง...หรืออาจจะเฉพาะคนหายเร็วหายช้า)


รายชื่อเขต ที่อยู่ เวลาติดต่อ เบอร์โทร ของการทำ TB-Test

          31 มกราคม 2556 ยื่นเอกสารทำเรสซิเด๊นวีซ่าที่ออฟฟิตตำรวจในเมือง Oslo (Politiet - Utlendingsavsnittet) หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่บอกให้รออีก 4 เดือน เราก็แบบ โห...4 เดือนมันนานเกินไปนะเนี่ย อยากรีบไปเรียนใจจะขาด เค้าบอกคนมันเยอะ ก็ต้องเป็นไปตามคิว วันนี้ไม่ได้ทำอะไรนอกจากเอาเอกสารไปส่ง รูปไม่ได้ถ่ายใหม่ อุตส่าห์เตรียมตัวสวยมาอย่างดี .......กลับถึงบ้าน ก็ลืม ถามเรื่องขอเงินคืน เพราะจ่ายเกินไป 2 พันกว่าโครน จึงจองวันออนไลน์เพื่อไปถามถึงที่ เพราะไม่สามารถโทรติดต่อทางโทรศัพท์ได้ คนโทรเยอะ ด้วย


หลังจากแต่งงานแล้ว ให้สมัคร Family visa 
- กรอกรายละเอียด
- จ่ายเงิน 3,200 kr
- นัดวัน ยื่นเอกสาร

          หลังจากวันไปยื่นเอกสาร จนท.ก็จะให้เอกสารมา 3 ใบ ก็รอวันเค้าเรียกให้ไปถ่ายรูป และรอการ์ดส่งมาให้ที่บ้าน บางคนได้ 1 ปี บางคนได้ 2 ปี แล้วแต่ ไม่มีกฎตายตัว


          การ์ดที่เราจะได้ เรียกว่า เรสซิเด้นวีซ่า ต้องทำการต่อก่อนหมดอายุสามเดือน พอต่อครบสามปี ก็เปลี่ยนเป็น เพอมิเน๊น หรือเรียกว่า วีซ่าถาวรนั่นเอง

Residence permit
ไม่ต้องแต่งสวยมาก เพราะยังไงก็เป็นภาพขาว-ดำ อิอิ

          27 กุมภาพันธ์ 2556 สามารถไปติดต่อเรื่องเรียน หลังได้เรสซิเด๊นวีซ่า....ไปคนเดียวด้วย ตรงสถานี Helsfyr ชื่อออฟฟิต Oslo Voksenopplæring Servicesenter ก็ไม่รู้หรอกว่าอยู่ตรงไหน เดินมั่วไปเรื่อย จนไม่ได้จำทาง มองไปมองมา เออ..เห็นตึกเขียนว่า oslo voksenopplæring อาจจะใช่ เดินๆ ไปก่อนแล้วกัน เพราะหนาวมาก และเดินเข้าไปนั่ง แต่ช่วงนั้น เจ้าหน้าที่ไปกินข้าวกัน แต่ที่สำคัญ ทำไมตึกไม่มีคำว่า servicesenter หรือว่าเราจะมาผิดหว่า .... ไม่รู้แหละหนาวมากขอนั่งตรงนี้แล้วก็หาแผนที่ในมือถือ หาๆๆๆๆ ปรากฎว่า เอ๊ะ!! หน้าตาตึกและระแวกรอบข้างมันไม่เหมือนกับที่เรานั่งอยู่เลย งานเข้าแน่ๆ นี่มันผิดชัวร์ๆ ผ่านไปประมาณ 20 นาที เช็คเพื่อความชัวร์ เอาล่ะ ออกดีกว่า นี่มันไม่ใช่แล้ว ก็เดินๆ หา ดูรูป street view ในมือถือ หายากมาก 

          ในที่สุด ก็เจอ เจ้าหน้าที่ให้เขียนรายละเอียดนิดหน่อย แล้วก็เข้าไปเทส ว่าเราเขียนภาษาอังกฤษได้ไหม และอ่านภาษานอร์เวย์ได้ไหม ถามเรื่องประวัติพื้นฐานว่าเรียนจบอะไรมา ต่อไปอยากทำอาชีพอะไร ทุกอย่างไปได้อย่างราบลื่น แถมเค้าบอก เราอ่านนอร์ชได้ดีมาก แสดงว่าฝึกมาหนักใช่ไหม เลยบอก ใช่ค่ะ (แหม..ก็อยากพูดให้ได้นี่หน่าก็ต้องฝึกหนักกันหน่อย) และบอกอีกว่าเราจะได้เรียนที่ Smedstua อยู่ใกล้มาก เดินออกไปตึกสีเหลือง ทางขวามือ เอ้อ..ใกล้ดี ใกล้บ้านด้วย แต่ว่ายังต้องรอจนกว่า รร.จะโทรหรือส่งอีเมลล์มาเรียกว่าจะได้ไปเรียนวันไหน พอเดินกลับจะไปขึ้นรถไฟ จำทางไม่ได้ซะอย่างนั้น โก๊ะ จริงๆ เลยเรา


พยายามเดินตามแผนที่ 
ถึงแม้แผนที่ภาพมันจะไม่ตรงกับของจริง 
มันทำให้เราสับสนโดนออกนอกลู่นอกทางได้อย่างง่ายๆ
ตึกนี้แหละ จำไว้ให้ดี

อ่านเรื่องเกี่ยวกับการไปเรียนภาษานอร์ชเพิ่มเติมได้ที่ลิ๊งจ้า
_____________________________________________________

Update:  18 Mar. 2013

     ให้สามีโทรไปลงทะเบียนเรียนสังคมล่วงหน้า พอดีมีพี่ที่รู้จักเค้าแนะนำให้ไปลงทะเบียนเรียนพร้อม แต่ว่าโทรไปแล้วไม่ทันคอร์สเต็ม เลยได้คอร์สถัดไป 5-16 Aug.13 เป็นช่วงหยุดซัมเมอพอดี

Update: 8 Apr. 2013

     รอคำตอบเรื่องเรียนมา 40 วัน กำลังบอกสามีว่า วันนี้เธอโทรไปถาม รร.ให้ด้วยนะ ว่าจะได้ไป รร เมื่อไหร่ .... ไม่นานค่ะสักพัก มีข้อความเข้าทางโทรศัพท์ ไปเช็คดูปรากฎว่า ทาง รร. ได้ส่งข้อความมาบอกว่าให้ไป รร. วันที่ 15.4.13 เวลา 12.05-16.15 เลขห้อง ชื่อครู ตอนแรกต้องไปเรียนที่ Smedstua แต่พอดีว่าตอนนี้เค้าย้ายมาอยู่ Helsfyr Station เลยได้ชื่อใหม่ว่า Oslo Vo Helsfyr โชคดีด้วยที่ รร ย้ายมาเพราะอยู่ใกล้บ้านมากๆ ต้องรอลุ้นว่า เพื่อนในห้องจะหน้าตา นิสัย ชาติไหน ยังไงกันต่อไป อ้อ....ตอนแรกเลือกเรียนรอบเช้าค่ะ แต่ได้รอบบ่าย จึงให้สามีโทรไปถาม ได้ความว่า ตอนนี้คลาสใหม่มีอันเดียว เวลาเดียว แต่ในอนาคตถ้าความรู้เราดีก็สามารถย้ายห้องไปอยู่ห้องที่เค้าไปได้ไกลแล้ว และเลือกเวลาใหม่ได้ แต่ตอนนี้ก็ต้องโอเคไปก่อน ถ้าเรื่องมากคงอีกนานกว่าจะได้เรียน เพราะคนรอเรียนก็เยอะค่ะ

Update: 5 สิงหาคม  2013

          เริ่มไปเรียนวิชาสังคมนอร์เวย์กับกลุ่มคนไทย และครูคนไทย เรียนวันละ 5 ชม. เป็นเวลา 2 สัปดาห์ รวมเป็น 50 ชั่วโมง การเรียนสังคมต้องโทรไปลงทะเบียน และเช็คว่าช่วงไหนเค้ามีเรียน เราก็ไปเรียนค่ะ 
อ่านเรื่องการเรียนสังคม กับกลุ่มคนไทยเพิ่ม 

Update: 6 ตุลาคม  2013

          การหางานที่นอร์เวย์ นี่ช่างยากเหลือเกิน ยังไม่มีงานเป็นหลักๆ ทำเลย วันก่อนไปหานาฟมาให้เค้าช่วยเรื่องฝึกงาน ก็ไปพูดภาษานอร์เวย์ โชว์เลยเผื่อว่าเค้าจะช่วย .... ก็ไปบอกเค้าว่าอยากได้โครงการ Arbeidspraksis (เป็นการฝึกงานโดยนาฟจะจ่ายค่าแรงให้วันละ 300 กว่าโครน แต่เราหาที่ฝึกเอง) เค้าถามกลับมาว่า เป็นนักเรียนอยู่รึเปล่า ก็ตอบว่าใช่ เค้าบอกว่า ไม่อนุญาตให้นักเรียนเข้าโครงการนี้ ขอโทษด้วยแต่หน้าแกกวนตีนมากเจ้าหน้าที่ผู้ชายไม่ใช่คนนอร์ชนะ ..... 
          เราก็กลับบ้านมาหาข้อมูลใหม่ เออมันก็จริงที่ว่าเป็นนักเรียนอยู่ไม่สามารถเข้าโครงการนั้นได้ งั๊นเอาใหม่คราวนี้โครงการ Språkpraksis ก็ไปอีก 2 วันถัดไป คราวนี้พูดภาษาอังกฤษเลย เพราะคิดว่าพูดอังกฤษมันจะพูดได้เยอะกว่า พอไปถาม เจ้าหน้าที่ก็ไม่รู้จัก Språkpraksis จนเจ้าหน้าที่ต้องถามกันเอง (น่าโมโห) และแกก็เดินกลับมาได้ข้อสรุปว่า เธอต้องพูดภาษานอร์ชให้มัน well อะ เราก็ย้ำ well เลยเหรอ ตรูก็พูดได้นะเว๊ย แต่แค่ไม่ well แล้วเราก็ถามอีกว่า เธอมีทางไหนช่ว่ยชั๊นหางานได้บ้าง มันบอก ไม่ม่ เธอต้องพูดภาษานอร์ชให้ well (มันน่าโมโหอีกรอบ อินี่) มันไม่ช่วยอะไรเลย แถมยังกวนใส่ ถึงว่าสมน้ำหน้า ที่มีข่าวว่าพนักงานนาฟโดนแทง เพราะมันกวนตีนอย่างนี้นี่แหละ
          ไม่รู้ว่ารอบสุดท้ายเราพลา่ดรึเปล่า ที่ไม่พูดนอร์ชใส่ แต่ถ้าพูดไปมันก็ไ่ม่เข้าใจอยู่ดี มันไม่รู้จัก Språkpraksis เซ็ง เกลียดนาฟ เกลียดมัน เกลียดๆๆๆ

Update: 26 พฤศจิกายน  2013

          Nav ส่งจดหมายมาให้ไปหาเมื่อ 25-พย.13 ก็ไปนั่งประชุมฟังจนท.บลาๆๆๆ พอเสร็จเจ้าหน้าที่ก็เรียกเข้าไปคุยในห้องทีละคน รู้มั๊ยว่าจนท.คุยกับเราว่าไง ..... ภาษานอร์ชเธอแย่มากเลยนะ เอิ่ม..เราเข้าใจที่แกพูด และเราก็ตอบที่เธอถาม ถึงแม้จะไม่ได้พูดจ้อได้อย่างภาษาไทยก็เถอะ แกบอกว่า ถ้าภาษาเธอดี ชั๊นจะให้งานเธอ จบเลยค่ะ ตีรถกลับบ้านเลย แล้วก็คิดวนไปวนมา ที่เค้าว่าภาษาเราแย่ เราไปเรียนภาษาได้แค่ 5 เดือนเอง ได้ขนาดนี้มีแต่คนชม แต่นางคนนี้ว่าชั๊นซะ

          3 ชม.ต่อมา โรงแรม Rica Hotel โทรมาให้ไปสัมภาษณ์ด่วน รีบตาเหลือกเลย ดีใจมาก จากที่กำลังรู้สึกแย่เข้าขั้นจิตตก....... ก็ไปคุยกับเค้า เค้าบอกให้เริ่มงานวันรุ่งขึ้นเลย ให้ไปเทรนด์ 6 วัน หลังจากนั้นค่อยคุยอีกทีว่า เราโอเคกับงานนี้ไหม งานนี้เราไม่ได้เป็นประจำนะ เป็นแค่ extra แต่ก็ดีเงินก็ไม่น้อย 1 ปีเต็มๆ กับการหางาน เรามานอร์เวย์ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2012 เราจำได้ว่า โรงแรมนี้เราเอาซีวีไปยื่นมา 2 ครั้ง ยื่นเกือบทุกโรงแรมใน Oslo ก็ว่าได้ สำเร็จสักที
มีงานทำแล้ววู๊ย!!

อ่านต่อเรื่องการทำงานที่นอร์เวย์

http://all-about-norway.blogspot.no/2013/12/blog-post.html


_____________________________________________________

Update: 29 ธันวาคม  2013

          19 ธค.13 ได้ฤกษ์ไปต่อบัตร Residence permit (ต่อวีซ่าเรสฯ) ครั้งที่ 1 ผ่านไปแล้ว 1 ปีไวจังเลย....จริงๆ มันหมดอายุเดือนกุมภาพันธ์ปี 2014 แต่เราต้องทำเรื่องก่อนจะหมดอายุจริง เพราะพี่แกทำงานกันช้ามากกกกกกกก แกบอกว่ารอ 3 เดือนนะคะ แล้วจะมีจดหมายส่งมาให้ที่บ้าน และก็ทำการนัดทางอินเตอร์เน็ตเพื่อไปรับบัตรใหม่ แต่ที่เราสงสัยว่าทำไมไม่มีการถ่ายรูปเหรอ ใช้รูปเก่าเหรอ เรายังไม่รู้คำตอบตอนนี้ คงต้องรอวันที่ไปรับบัตรใหม่ ค่าเสียหายต่อบัตร พันกว่าโครน กรอกขอมูลในอินเตอร์เน็ตเหมือนเดิม , จ่ายตัง ,นัดวันออนไลน์, ปริ๊นเอกสารในอีเมล์ที่ udi ส่งมาให้ด้วยพร้อมเซ็นต์ชื่อ 

          เอกสารที่นำไปยื่น มีพาสปอร์ตตัวจริงของตัวเรา, ก๊อปปี้พาสปอร์ตของตัวเองทุกหน้าที่่มีความเคลื่อนไหว, และก็มีอีกใบนึงเป็นกรอกข้อมูลชื่อเรา ชื่อสามี แล้วก็เซ็น เอกสารนี้ปริ๊นจากเว็บ udi (เสิร์ชกันเอาเองเน้อ เค้าไม่รู้ พอดีสามีเป็นคนทำ) 


Update: 6 มกราคม  2014

          ราคาวีซ่า ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นไป ราคาแพงขึ้นเป็นเท่าตัวเลยค่ะ เช่น ปกติ             ต่อวีซ่าปีละ 1000 kr. แต่ปีนี้ต้องจ่ายเพิ่มเป็น 2500 kr. ค่ะ (เราโชคดีที่ช่วงเวลาที่เราต่อนั้นยังอยู่ในปี 2013 เลยรอดตัวไป จ่าย 1000 kr.)

          The fee for a first- time application for residence permit for family immigration is increased to NOK 5,200 · 
          ค่าธรรมเนียมในการสมัครขอใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ครั้งแรก ขึ้นเป็น 5,200 kr. (เดิมประมาณ 3 พันกว่า ถ้าจำไม่ผิด)

          The application fee for the renewal of a residence permit for family immigration is increased to NOK 2,500, when the application is submitted before the current permit expires· 
          ค่าธรรมเนียมการสมัครขอต่ออายุใบอนุญาตถิ่นที่อยู่สำหรับครอบครัวที่เพิ่มขึ้นเป็น 2,500 kr (เดิม 1,100 kr) ต้องต่อก่อนหมดอายุ

          The application fee for the renewal of a residence permit for family immigration is increased to NOK 5.200, if the application is submitted after the previous permit has expired.
          ค่าธรรเนียมการสมัครต่ออายุ ใบอนุญาตถิ่นที่อยู่สำหรับครอบครัวเพิ่มเป็น 5200 kr. ในกรณีที่หมดอายุแล้วมาต่อภายหลัง

Update: 17 กุมภาพันธ์  2014

          หลังจากรอจดหมายเรื่องต่อวีซ่ามานานแสนนาน จนวีซ่าเราหมดอายุจริงๆ เลยบอกให้แฟนส่งเมลล์ไปถาม และได้เรื่องว่า เค้าไม่รู้เรื่องว่าจดหมายจะมีส่งมาที่บ้าน ทั้งนี้ทั้งนั้น เราต้องนัดวันเข้าไปอีกทีเพื่อถ่ายรูป .... กำ เราจำได้ว่า จนท.พูดว่า รอจดหมายส่งมาที่บ้าน แล้วค่อยมาติดต่ออีกที  เซ็งกับการทำงานของจนท.ที่นี่มาก สรุป เราก็ต้องทำการนัดออนไลน์อีกที ได้วันอีก 3 อาทิตย์ต่อมา อารมณ์เสียเลยค่ะ บัตรที่มีอยู่ก็หมดอายุ เวลาไปไหนก็ต้องพกพาสปอร์ตแทน

Update:  11 มีนาคม 2014

          วันไปถ่ายรูป จนท.ก็ไม่พูดไรมาก แค่ถามที่อยู่ เบอร์ และก็ถ่ายรูป + เซ็นชื่อ และบอกว่าจดหมายจะถึงบ้านไม่เกิน 2 อาทิตย์ (จดหมายแนบมาพร้อมบัตรใหม่)

Update:  17 มีนาคม 2014

          วันที่จดหมายมาถึง.... เย้ ในที่สุดก็ได้บัตรสักที รอมา 3 เดือน  (อัพเดท 15.12.14 แต่ตอนนี้เค้ามีวิธีการใหม่แล้ว พอใกล้เดือนที่บัตรเราจะหมดอายุ 2 เดือน จนท.จะส่ง sms และรหัสมาให้ในโทรศัพท์ และเราก็คีย์ข้อมูล จ่ายตัง นัดวัน พอถึงวันเราก็เอาเอกสารไปยื่นพร้อมถ่ายรูป และรูป และรอส่งการ์ดใหม่มาให้ที่บ้านภายใน 10 วัน


Update:  06 ธันวาคม 2014

          ได้เวลาต่อวีซ่า Residence Permit ครั้งที่ 2 ตอนแรกก็ลืมแล้วล่ะ แต่พี่ Utlendingsavsnittet ส่งทั้งอีเมลล์มา ส่งทั้ง sms มาทางโทรศัพท์กว่า 6 ฉบับ ก็เลยนึกออกว่าต้องต่อบัตรแล้ว (บัตรหมดอายุวันที่ 18.02.2015) เข้าเว็บ https://selfservice.udi.no/



          เราก็ทำตามที่เค้าบอกเลย ว่าเข้าไปที่เว็บ > Login > Use F-code > ใส่ code


          กรอกรายละเอียดต่างๆ > จ่ายเงิน 2,500 kr. > เลือกวัน > เซฟ - ปริ๊นเอกสาร Cover letter, Receipt และ Application (เอาไปยื่นในวันนัดด้วย)
เอกสารที่ต้องยื่น 
1. พาสปอร์ตตัวเอง
2. ใบสมรส
3. ใบจ่ายภาษีของสามีปีที่แล้ว

Update:  15 ธันวาคม 2014

          วันนี้ไปยื่นเอกสารการต่อบัตรเรสฯ - ถ่ายรูป ....จนท.บอกรอไม่เกิน 10 วัน จะส่งมาให้ที่บ้าน (ต่ออายุบัตรรอบนี้ได้ไวกว่าเดิมเยอะ และสะดวกมากๆ ได้มา 2 ปีเลยหง่ะ แต่ไงปีหน้า ก็ทำวีซ่าถาวรอยู่ดี)


Update:  25 มกราคม 2015

          สอบผ่านนอร์ช 3 หรือ B1 แล้วจ้า หลังเรียนมาได้เกือบปีครึ่ง ใช้ชม.ไปแล้ว 1000 ชม. เย้ๆๆๆ จะได้ไม่ต้องไป รร. อีก น่าเบื่อ แถมเหนื่อยด้วยต้องไปเรียนหลังจากเลิกงาน :P


Update:  09 มกราคม 2017

             วีซ่าติดตามคู่สมรสปีนี้ขึ้นราคาแพงเอามากๆ เป็น 8,000 kr. และต่อวีซ่าครั้งต่อไป 2,200 kr.
   

บทความแนะนำ โดย All about Norway
คลิกที่ลิ๊งด้านล่างได้เลยจ้า 

การเรียนภาษา

การหางาน และ นาฟ

วีซ่า

ความรู้ทั่วไป

รีวิว ที่เที่ยวใน Oslo